ทนายคดีลักทรัพย์
คดีลักทรัพย์
คดีลักทรัพย์หรือ ความผิดฐานเป็นขโมย เป็นไปตามกฎหมายอาญา มาตรา 334 ที่ว่า ผู้ใดเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โดยมีเจตนาทุจริต ดังนั้นการลักทรัพย์ ต้องมีการกระทำดังนี้
1 การเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป การเอาไปคือ การทำให้ทรัพย์เคลื่อนที่ไป มีความมุ่งหวังที่ตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์ เอาไปเป็นประโยชน์ของตน เช่น การขับรถหรือเข็นรถของคนอื่นไป การหยิบของออกจากร้านค้าหรือจากบ้านของคนอื่น โดยเจ้าของไม่ยินยอม การที่พนักงานเอาเงินที่ต้องส่งบริษัทเป็นรายวันไป การเอาไปต้องมุ่งหมายที่จะเอาประโยชน์จากทรัพย์นั้น การเอาไปเพื่อทำลาย หรือไปทิ้ง ย่อมไม่ผิดลักทรัพย์
2 สิ่งที่เอาไปต้องเป็นทรัพย์ นั้น หมายถึงวัตถุมีรูปร่าง ซึ่ง อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น กระแสไฟฟ้าที่เดินมาตามสาย เป็นสสารซึ่งมีรูปร่าง การลักกระแสไฟฟ้าจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่หากไม่ใช่วัตถุมีรูปร่าง เช่น การจูนเอาคลื่นโทรศัพท์มือถือในอากาศไป หรือ การคัดลอกข้อมูล ดูดข้อมูลผู้อื่นไปย่อมไม่ผิดลักทรัพย์ ( ฎีกาที่ 5161/2547 ) การคัดลอก ดูด เอาคริปโตเคอเรนซึ่ ของผู้อื่นไป ไม่น่าจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะเงินสกุลดิจิตอล เป็นข้อมูล ไม่ใช่วัตถุมีรูปร่างที่อาจลักไปได้
3 ทรัพย์ที่เอาไปต้องเป็นทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อืนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย หากเป็นทรัพย์ที่ตนเองเอาไปจำนำไว้ แล้วไปเอาคืนมา ย่อมไม่ผิดลักทรัพย์
4 ต้องมีการเอาทรัพย์ไปโดยเจตนาทุจริต
5 ความผิดฐานลักทรัพย์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แต่หากเป็นกรณีต่อไปนี้ มีโทษจำคุก 1-5 ปี เช่น
5.1 ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
5.2 ลักทรัพย์ ในที่เกิดเพลิงไหม้ น้ำท่วม หรือภัยพิบัติ
5.3 ลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย
5.4 ลักทรัพย์โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
5.5 ลักทรัพย์โดยมีอาวุธ
5.6 ลักทรัพย์นายจ้าง
5.7 ลักทรัพย์ พืชผลกสิกรรม
5.8 ลักทรัพย์ในเคหสถาน
ปรึกษาคดีลักทรัพย์เพิ่มเติม โทร 0838843287