ฟ้องหย่า
การฟ้องหย่า
ตามกฎหมายแล้วมีการหย่า มี 2ประเภท
1 การหย่าโดยสมัครใจยินยอมไปหย่าทั้ง 2 ฝ่าย ที่อำเภอ แล้วให้นายทะเบียนจดหย่าให้ ทั้งนี้อาจมีข้อตกลงบันทึกท้ายทะเบียนหย่า อาจตกลงเกี่ยวกับบุตร
หรือ ทรัพย์สิน
2 การฟ้องหย่า
เหตุแห่งหารฟ้องหย่าเป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1 กรณีที่ทำสัญญาหย่าโดยยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย แล้วอีกฝ่ายไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าตามข้อตกลง กรณีนี้ฟ้องหย่าได้
2 เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมาย
2.1 ฟ้องหย่ากรณีอีกฝ่ายมีชู้ หรือยกย่องหญิงเช่นเดียวกับภริยา
2.2 ฟ้องหย่าจากเหตุที่อีกฝ่ายประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
2.3 ฟ้องหย่าจาก กรณีสมัตรใจแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปี
2.4 ฟ้องหย่าจากที่อีกฝ่ายทิ้งร้าง
2.5 ฟ้องหย่าเนื่องจากอีกฝ่ายต้องโทษตามคำพิพพากษา ให้ลงโทษจำคุกเกิน 1 ปี
2.6 ฟ้องหย่าจากการทำร้ายร่างกาย ทรมานร่างกายหรือจิตใจของอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นการร้ายแรง
2.7 ฟ้องหย่าจากการที่อีกฝ่ายดูหมิ่น เหยียดหยาม บุพการี อย่างร้ายแรง
2.8 กรณีที่อีกฝ่ายถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้
2.9 ฟ้องหย่าเนื่องจากมีการกระทำการอันเป็นปฎิปักษ์ ต่อการเป็นสามี ภริยา อย่างร้าแรง
2.10 กรณีที่ อีกฝ่ายวิกลจริต เกินกว่า 3 ปีฟ้องหย่าได้ โดยการวิกลจริตนั้นต้องยากที่จะหาย
2.11 ฟ้องหย่าจากการอีกฝ่ายเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง อาจเป็นภัยกับอีกฝ่ายหนึ่ง และยากต่อการรักษาหายได้
2.12 ฟ้องหย่าฟ้องหย่ากรณีที่สามี ภริยา ไม่ให้ความช่วยเหลือ เลี้ยงดู
2.13 ฟ้องหย่าจากสภาพแห่งกายไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล
การเตรียมเอกสารฟ้องหย่า
1 ทะเบียนสมรส
2 บัตรประชาชน
3 กรณีมีบุตร ใช้ ใบเกิด
4 หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุฟ้องหย่ากรณีนั้น เช่น ภาพถ่ายบาดแผลการทำร้าย ภาพการมีชู้ หลักฐานการแยกกันอยู่