1 2 3 4

ทนายคดีอาญา

ทนายคดีอาญา

ทนายคดีอาญา ปรึกษาโทร 0838843287

  • images.png

คดีอาญา  คือ  คดีที่มีโทษ ตามกฎหมาย ได้แก่ ประหารชีวิต  จำคุก  กักขัง  ปรับ  ริบทรัพย์สิน ปรึกษาคดี โทร 0838843287

กฎหมายอาญา  เป็นกฎหมายที่กำหนดโทษ สำหรับการกระทำผิด  

การฟ้องคดีอาญา  มี 2 ทางเลือก  คือ ให้ทนายฟ้องคดีเอง  กับการแจ้งความผ่านตำรวจ

สำนักงานของเรามีความเชี่ยวชาญด้านคดีอาญา เช่น

1 คดีลักทรัพย์  

   2 คดีฉ้อโกง  

   3 คดียักยอก

   4 คดีปลอมเอกสาร

   5 คดีหมิ่นประมาท

   6 คดีรับของโจร

   7  คดีแจ้งความเท็จ  ฟ้องเท็จ  เบิกความเท็จ

   8 คดีการเงิน forex บิทคอยน์

   9 คดีปลอมบัตรเครดิต  หนังสือเดินทาง

   10 คดีอาญาทุจริต

เรามีทีมทนายประสบการณ์ให้ความช่วยเหลือ ปรึกษาได้  โทร 0838843287

    ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา

เริ่มต้นด้วยผู้เสียหายเเจ้งความ(ร้องทุกข์)ต่อพนักงานสอบสวน หรือ เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองต่อศาล

  • กรณีผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนมีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิดเเละรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ
  • กรณีผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง ศาลจะต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องก่อนเสมอ "ไต่สวนมูลฟ้อง" หมายความถึง กระบวนไต่สวนของศาล เพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา คดีที่ผู้เสียหายนิยมเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองเพราะมีความรวดเร็ว ได้เเก่ คดีความผิดฐาน ยักยอก ฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์ หมิ่นประมาท บุกรุก เช็คเด้ง
 
    อายุความในคดีอาญา ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ ป.อ.มาตรา 95
  • ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
  • สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
  • สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
  • ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
  • หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ป.อ.มาตรา 96