ฟ้องหย่า 0838843287
การหย่าตามกฎหมายมี 2 ประเภท
1 การหย่าโดยความยินยอม คือ ทั้งคู่สามีภริยา ตกลงหย่ากันเอง โดยต้องไปดำเนินการหย่าที่อำเภอโดยผู้ที่จะหย่าทั้งสองฝ่ายต้องไปด้วยตนเอง การหย่าโดยความยินยอมหากจะมีการตกลงเรื่องสินสมรส หรืออำนาจปกครองบุตร ก็สามารถทำได้โดยทำเป็นบันทึกท้ายการหย่า
2 การฟ้องหย่า หากไม่สามารถดำเนินการหย่าโดยตกลงยินยอมได้ กฎหมายให้มีเหตุฟ้องหย่าได้ ตามกฎหมาย โดยเหตุแห่งการฟ้องนั้นมีอยู่ 10 ประการ ดังนี้
1 สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
2 สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่าย
หนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไปหรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามี
ภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
3 สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือ
บุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
4 สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุึดให้จำคุกและได้ถูกจำคุกเกิน 1 ปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มี
ส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี
ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน
3 ปีหรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
5 สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน 3 ปีโดยไม่มี
ใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
6 สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุึปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการ
ที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินสมควรในเมื่อ
เอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
7 สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกิน 3 ปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความ
วิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
8 สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
9 สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทาง
ที่จะหายได้อีก อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
10 สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งนั้น
ฟ้องหย่าได้
การฟ้องหย่าชาวต่างชาติ
1 กรณีชาวต่างมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ให้ส่งหมายฟ้องหย่าไปที่ภูมิลำเนา
2 กรณีมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ ต้องดำเนินการส่งหมายไปต่างประเทศ
3 กรณีมีการตายในต่างประเทศ ให้รับรองใบมรณบัตรโดยผ่านผู้มีอำนาจรับรอง ให้รับรองโดยสถานทูตไทยในประเทศนั้น แล้วนำกลับมาแปลรับรองกงสุล เพื่อไปแสดงต่ออำเภอ ให้การสมรสสิ้นสุด